กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ จัดทำแผนพัฒนาเครือข่ายสมุนไพร จังหวัดสกลนคร โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME
ในกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ จัดทำแผนพัฒนาเครือข่ายสมุนไพร จังหวัดสกลนคร โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ในกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมลคลธัญบุรี เมื่อวันที่ 6 – 7 กันยายน 2560 ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรมสกลแกรนด์ พาเลซ
เมื่อวันที่ 6 – 7 กันยายน 2560 ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรมสกลแกรนด์ พาเลซ กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ จัดทำแผนพัฒนาเครือข่ายสมุนไพร จังหวัดสกลนครโครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ในกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย ซึ่งกิจกรรมคลัสเตอร์สมุนไพร เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2560 ระหว่าง สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์มโน สุวรรณคำ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองอาคารและสถานที่ มทร.ธัญบุรี กล่าวถึง ความสำคัญและที่มาของการจัดโครงการ โดยชี้ให้เห็นถึงเป้าหมายของการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการสมุนไพรทั่วประเทศ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน คือ
1. เพื่อกระตุ้นความเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ประกอบการในกลุ่มคลัสเตอร์สมุนไพร โดย มทร.ธัญบุรี ได้มีการจัดทำระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการจัดเก็บข้อมูลซึ่งใช้เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Data Center) ระหว่างกลุ่ม ผู้ปลูก/น้ำเข้า ผู้แปรรูป และผู้ขาย ให้สามารถเข้าใช้ฐานข้อมูลจากที่เดียวกันทั่วประเทศ เป็นแหล่งในการจัดเก็บที่ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อการวางแผนการผลิตต่อไป
2. เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการในเครือข่ายสมุนไพรให้มีศักยภาพในการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้าง Strong SME โดยมีรูปแบบโมเดล คือ อบรมให้ความรู้ ต่อด้วย E-Commerce และเกิดเป็น Business matching
3. เพื่อนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้แก่ธุรกิจในเครือข่าย โดยการนำนวัตกรรมและงานวิจัยเข้ามาช่วยผู้ประกอบการสมุนไพรทั่วประเทศ ภายใต้การดำเนินการพัฒนาและส่งเสริมคลัสเตอร์
จากวัตถุประสงค์ทั้ง 3 ข้อที่กล่าวมาในเบื้องต้น มทร.ธัญบุรีมีเป้าหมายที่จะสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ 5 Clusterหลังจากที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์มโน สุวรรณคำ กล่าวถึงที่มาและความสำคัญของการดำเนินโครงการให้ผู้เข้าร่วมโครงการรับทราบ
ต่อมา คุณชยพล คติกา (โจ้) อาจารย์ผู้เชียวชาญและเป็นที่ปรึกษาได้บรรยายเพื่อกระตุ้นให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบันและการแข่งขันที่เกิดขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ผู้ฟังได้เล็งเห็นถึงการปรับเพื่อจะก้าวเข้าไปสู่ความมั่นคง มั่งมี และยั่งยืน ให้ผู้ประกอบการมีความสุขกับอาชีพของตนเอง และสืบต่อเนื่องสู่ลูกสู่หลาน สร้างรายได้ให้ไหลมาเทมา โดยกิจกรรมของกลุ่มคลัสเตอร์ในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้ทุกคนเข้ามาร่วมกันวางแผนเพื่อจะสร้างกิจกรรมและการดำเนินงานที่จะเกิดขึ้นไปสู่ความมั่นคง มั่งมี และยั่งยืน โดยอาจารย์โจ้ ได้ให้ข้อคิดไว้
1. ร่วมกันเรา….อยู่ สู้….ไปด้วยกัน อาจารย์ชี้ให้เห็นว่าการทำงานทุกอย่างจะประสบผลสำเร็จที่ดีได้นั้นเราจะต้องร่วมแรงร่วมใจกันทำ เพราะคนเราไม่สามารถทำอะไรตัวคนเดียวได้ การร่วมกัน ร่วมคิดร่วมทำ จะทำให้เกิดสิ่งที่ดีกว่าและความสำเร็จที่ดีได้
2. โดยมีวัตถุประสงค์ คือเพื่อให้คลัสเตอร์สมุนไพรมีความมั่งคั่ง ในที่นี้อาจารย์ได้ยกตัวอย่าง ไข่เค็มไชยา ว่าทำไมเวลาที่เราพูดถึงไข่เค็ม ทุกคนมักจะกล่าวถึงไข่เค็มของไชยา เราจะสร้างชื่อเสียงคลัสเตอร์สมุนไพรของขอนแก่นอย่างไรให้ทุกคนจดจำเราได้
3. การพัฒนาการคลัสเตอร์ ในส่วนนี้ประกอบด้วยกระบวนการ 4 ขั้นตอนที่สามารถเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันได้ โดยมี ร่วมปรึกษาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ลดต้นทุน นวัตกรรมใหม่ เกิดเป็นธุรกิจใหม่ หรือให้ธุรกิจเก่าขยายตัว
4. นวัตกรรม การลงพื้นที่ให้คำปรึกษาของกลุ่มคลัสเตอร์สมุนไพร เพื่อก่อให้เกิดการช่วยสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ การผลิตใหม่ การบริการใหม่ ธุรกิจใหม่ โดยได้กลุ่ม คลัสเตอร์ พันธมิตรธุรกิจ เครือข่าย ห่วงโซ่อุปทาน
นอกจากนี้ภายในงานยังมีผู้ประกอบการได้นำสินค้ามาจัดแสดงบริเวณรอบนอกห้องสัมมนา คุณภาดล แสงกุดเรือง (ดล) ได้แนะนำผู้ประกอบการตัวอย่างออกมาพูดเล่าถึงผลิตภัณฑ์